x
ตามข่าวหนังสือพิมพ์จะมีบุคคลทั้งใน และนอกวงการ ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด เกิดจาก
1. หลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน หรือภาวะหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันนั่นเอง ปัจจัยเสี่ยงของการเหล่านี้
แบ่งได้ดังนี้
2. กลุ่มนักกีฬา เป็นกลุ่มที่พบภาวะนี้มาก ส่วนใหญ่มักจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวแต่กำเนิด (HOCM) เช่น นักฟุตบอล นักกรีฑา เป็นต้น
3. กลุ่มที่มีโรคหัวใจอยู่แล้ว เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ โรคไหลตาย เป็นโรคกรรมพันธุ์ ซึ่งเกิดจากไฟฟ้าในหัวใจมีวงจรที่ผิดปกติ
เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น ทุกส่วนในร่างกายจะหยุดทำงาน การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ที่มีประสิทธิภาพในเวลาอันรวดเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญ พบว่า ถ้าเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันภายในชุมชน จะสามารถช่วยผู้ป่วยได้ประมาณ 10% ถ้าเกิดในโรงพยาบาล จะสามารถช่วยได้มากกว่านั้น คนทั่วไปหรือคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในสาธารณะที่ผ่านการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพมาแล้วและมีเครื่องกระตุกหัวใจ (AED) ก็จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยชีวิต ทำให้มีผู้รอดชีวิตมากขึ้น
(สำหรับรายละเอียดในการช่วยฟื้นคืนชีพ ให้ดูจากบทความที่เกี่ยวข้อง)
เรียบเรียงโดย นพ.เกรียงไกร เฮงรัศมี
หัวหน้ากลุ่มงานอายุรศาสตร์หัวใจ สถาบันโรคทรวงอก