x

เตรียมเกษียณหัวใจสดใส สุขกว่าวัยทำงาน

ผู้เกษียณในไทยนั้น มีภาวะซึมเศร้าสูงถึงร้อยละ 35 กรมสุขภาพจิตจึงแนะทางออก คือ

     คนทำงานไม่ว่าจะเอกชนหรือราชการ ผ่านความท้าทายและสังคมหน้าที่การงานมายาวนานหลายสิบปี เมื่อถึงจุดเปลี่ยนที่ต้องเกษียณอายุ หลายคนปรับตัวไม่ได้กับการว่างงาน รู้สึกเงียบเหงา หรืออาจมีปัญหารายรับไม่พอรายจ่ายและหนี้สิน

ซึ่งทั้งหมดนี้อาจกระทบจิตใจผู้เกษียณ กลายเป็นโรคซึมเศร้า ภาวะเครียดสะสม นำไปสู่โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคสมองเสื่อม และโรคอื่นๆก็เป็นได้

กรมสุขภาพจิตได้เคยเผยข้อมูลไม่นานมานี้ ว่าผู้เกษียณในไทยนั้น มีภาวะซึมเศร้าสูงถึงร้อยละ 35 กรมสุขภาพจิตจึงแนะทางออก คือ

 

  1. ปรับวิถีชีวิตใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ในปัจจุบัน อาจจะหางานอดิเรกทำ เช่น ปลูกต้นไม้ ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฯลฯ  มีเป้าหมายชีวิตที่สอดคล้องกับตัวเอง  และมีเป้าหมายเล็กๆในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ แล้วทำความสำเร็จเล็กๆในแต่ละวันนั้นให้ลุล่วงไป เพื่อความภูมิใจและไม่เบื่อหน่าย อาจพิจารณาหางานใหม่ part time หรืองานสังคม (จิตอาสา) ซึ่งจะช่วยให้ได้ใช้สมอง ใช้ร่างกายอย่างเหมาะสม เป็นประโยชน์แก่ตัวเองและสังคม
  2. ปรับความคิดใหม่ มองโลกในแง่บวก ว่าเป็นช่วงเวลาที่จะได้หยุดภาระงานหลัก ได้ทําสิ่งที่อยากทําซะที  ไม่ต้องรีบร้อน ไม่ต้องรถติดทุกวัน ได้มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น  มีเวลาไปทำสิ่งดีๆให้ตัวเอง เช่นหมั่นไปตรวจสุขภาพ และมีโอกาสสร้างสรรค์สิ่งดีงามและคุณค่าให้กับสังคมได้อีกมาก

 

  1. หาสังคมที่เหมาะกับตัวเอง และมีประโยชน์ หรือเติมทักษะชีวิตให้มีคุณค่า เพื่อการพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองกัน ไม่อยู่โดดเดี่ยว เช่นกลุ่มออกกำลังกาย  กลุ่มศึกษาธรรมะ กลุ่มวิปัสนา ฯลฯ
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำ การเดิน แกว่งแขน ฯลฯ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและจิตใจสดใส ลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้าได้

 

นอกจากคำแนะนำของกรมสุขภาพจิตแล้ว   ผู้เกษียณมักจะมีปัญหาสุขภาพกายไปด้วย จากการที่เคลื่อนไหวน้อยลง ไม่ค่อยออกไปไหนมาไหน  ใช้ชีวิตกับการนั่งเฉยๆหรือนอนเฉยๆมากขึ้น  ซึ่งนอกจากจะทำให้เบื่อหน่ายซึมเซาแล้ว ก็อาจนำไปสู่โรคหัวใจจากการสะสมของไขมันในเส้นเลือดได้

และนอกจากนี้การที่มีเวลาว่างมาก หลายคนจึงกินจุบกินจิบบ่อยขึ้นและมากขึ้น อาจนำไปสู่ภาวะอ้วนและโรคหัวใจและอีกหลายโรคได้เช่นกัน 

ซึ่งเมื่อสุขภาพกายไม่ดีแล้ว ก็มีผลกระทบไปถึงสุขภาพจิตอีกต่อหนึ่งด้วย

 

ฉะนั้นเมื่อใกล้เกษียณ ควรหยุดวิตกกังวล แล้ววางแผนตามคำแนะนำของกรมสุขภาพจิตไว้ก่อน รวมถึงค่อยๆเตรียมร่างกายให้แข็งแรงสดชื่นรอรับกิจกรรมใหม่ๆที่สนุกสร้างสรรค์สุขภาพจิตและสุขภาพกาย  ...จะได้มีความสุขกว่าก่อนเกษียณซะอีก !

 

 

แหล่งข้อมูล:

forums.dmh.go.th/index.php?topic=138523.0

 

thairath.co.th/content/528956

 

news.sanook.com/830973

 

บทความยอดนิยม

SPONSORS